เกิดวันที่ 16 พ.ค.2496 (ปีมะเส็ง)
เป็นบุตรของ นายรวม พรหมบุรี และ นางเพื้อน พรหมบุรี (นามสกุลเดิม คงสว่าง)
มีพี่น้องรวม 6 คนได้แก่
- นางสุภาว์ (แอ้ว) สันดุษฎี
- นางรัตนา (แอ็ด) คันธวะโร
- นางองุ่น ครุฑสิงห์ (เสียชีวิตแล้ว)
- ร้อยตำรวจตรีศิริเวช (ตี๋) พรหมบุรี (เสียชีวิตแล้ว)
- นายอุมศักด์ พรหมบุรี (ผู้วายชนม์)
- นายจิระวุธ (ต้อย) พรหมบุรี
ด้านครอบครัว มีภรรยา 2 คน ได้แก่
- นางอังคณา (เล็ก) พรหมบุรี (นามสกุลเดืม เจริญสมบัติ) มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่
- น.ส.อรุณี (อุ๋ย) พรหมบุรี
- น.ส.ปิยะวรรณ (นุ้ย) คันธะวโร (ยกให้เป็นลูกบุตรธรรมของพี่สาว นางรัตนา คันธวะโร
- นายคงศักดิ์ (เจ) พรหมบุรี
- นางสิริรัฐ (รุ่ง) มงคลสังข์ มีบุตร-ธิดา 2 คน ได้แก่
- น.ส.ณัฐณิชา (ุบุ้ง) พรหมบุรี
- นายภัทรเดช (บอม) พรหมบุรี
ด้านดนตรีไทย
นายอุดมศักดิ์ พรหมบุรี เป็นผู้สืบสายโลหิตทางดนตรีไทยมาจากครูรวม พรหมบุรี ผู้เป็นบิดา ได้ชื่อว่าเป็นคนมีรสมือดี เฉพาะด้านเครื่องหนัง แต่ใจชอบทางด้าเครื่องยนต์ เครื่องเสียง และระบบไฟฟ้า จึงไม่ค่อยได้ฝึกฝนทางดนตรีเท่าที่ควร แต่คอยช่วยเหลือกิจการของบิดามาโดยตลอด จนที่สุดก็ได้รับมอบหมายให้เป็น "นายวง" สืบทอดตำแหน่ง "หัวหน้าวงปี่พาทย์คณะรวมศิษย์บรรเลง" มาจนถึงปัจจุบัน
นายอุมศักดิ์ พรหมบุรี เป็นผู้เคร่งครัดระเบียบแบบแผนการบรรเลงดนตรีไทยในแนวอนุรักษ์นิยมเป็นอย่างมาก ยึดมั่นในหลักการบรรเลงเพลงประเภทต่าง ๆ มาขากบิดาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง มีความทรงจำจดจำทำนองเพลงดนตรีได้อย่างแม่นยำ ได้แก่ เพลงทะแยสามชั้น ทางไล่มือระนาดเอก, ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงพญาโศกสามชั้น และเพลงมอญต่าง ๆ
ถึงแม้ว่าสังคมการฟังดนตรีใน จ.ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงจะเปลี่ยนแปลงไป วงปี่พาทย์จากคณะอื่น ๆ ต่างพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการบรรเลงไปในแนวร่วมสมัย เพื่อให้เข้าถึงผู้ฟังมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังให้มีวานมีรายได้มากขึ้น แต่นายอุดมศักดิ์ฯ ก็ไม่นิยมวิธีการบรรเลงดนตรีไทยไปในแนวลูกทุ่งและลูกกรุงเลย จะเห็นได้ว่า นายอุดมศักดิ์ฯ ยึดระเบียบแบบแผนการบรรเลงดนตรีไทยตามรอยของครูรวม พรหมบุรี ผู้เป็นบิดาอย่างมุ่งมั่น มั่นคง มีศักดิ์ศรี ไม่เปลี่ยนแปลง
ด้วยความมุ่งมั่นในจารีตทางดนตรีไทยนี่เอง ครูไชยะ ทางมีศรี (ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยแห่งสำนักสังคีต กรมศิลปากร) ได้พิจารณาเสนอให้ นายอุดมศักดิ์ พรหมบุรี และอาจารยฺสุรินทร์ เจือหอม เป็นผู้ได้รับการสืบทอดรับมอบโองการไหว้ครูดนตรีไทย (ฉบับหลวง ของ ครูมนตรี ตราโมท) อันเป็นเครื่องหมายสูงสุดทางวัฒนธรรมดนตรีไทยแก่วงศ์ตระกูล "พรหมบุรี" สืบไป
ด้านการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นใประถมศึกษาปีที่ 6 จาก รร.เทศบาล 4 วัดทหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี
- ในปี พ.ศ.2552 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติประวัติทางด้านดนตรีไทย โโยได้ระบพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาดนตรีไทย) จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
การทำงานเพื่อสังคมและชุมชน
- ด้านวิชาชีพดนตรีไทย ด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคมชุมชนคนดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นงานใน จ.ราชบุรี เพชรบุรี กรุงเทพฯ นครสวรรค์ และจังหวัดอื่น ๆ นายอุดมศักดิ์ฯ จะเดินทางไปช่วยเหลือกิจกรรมทางดนตรีไทยอย่างสม่่ำเสมอ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า เพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีทางวัฒนธรรมดนตรีไทยให้เป็นปึกแผ่น
- ด้านศาสนา นายอุดมศักดิ์ฯ เป็นผู้นำวงดนตีไทยสำนักครูรวม พรหมบุรี ไปขับบรรเลงขับกล่อมงานประจำปีของวัดมหาธาตุวรวิหาร จ.ราชบุรี ตลอดงานเป็นประจำทุกปี ได้แก่ งานกฐินพระราชทาน งานเทศมหาชาติ และงานอื่น ๆ ซึ่งท่านพระธรรมปัญญาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเล็ก) จะเรียกใช้ให้มาบรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ของทางวัดโโยสม่ำเสมอ
- เข้าร่วมประชันดนตรีไทย ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่กลองสองหน้า ระหว่างสำนักดนตรีศิษย์ครูรวม พรหมบุรี กับ สำนักดนตรีครูไพฑูรย์ จรรย์นาฎย์ จาก จ.พระนครศรีอยุธยา
- นายอุดมศักดิ์ฯ ได้เข้าไปบรรเลงดนตรีไทยต่อพระที่นังในพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ โดยมีพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาชมการบรรเลงดนตรีในครั้งนี้
- ทำหน้าที่ควบคุมวงดนตรีไทยสำนักครูรวม พรหมบุรี ไปบรรเลงถวายเป็นพระราชกุศลในหลวงรัชกาลที่ 9 รายการสำนักสังคีต คีตกวีดนตรีไทย ณ โรงละครแห่งชาติ
- ทำหน้าที่ควบคุมวงดนตรีไทยสำนักครูรวม พรหมบุรี ไปบรรเลงประชันดนตรี 4 จังหวัดระหว่าง จ.ราชบุรี และ จ.กาญจนบุรี ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม
- ให้ความร่วมมือเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมดนตรีไทย จ.ราชบุรี เพื่อไปบรรเลงตามงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี
- เป็นวิทยากรพิเศษ ให้คำปรึกษาทางด้านวัฒนธรรมดนตรีไทย แก่หน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
- เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีไหว้ครู ของ จ.ราชบุรี ที่ยิ่งใหญ่มาตลอด ถือเป็นจุดศูนย์รวมของศิลปินและหลากหลายอาชีพที่ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งในปีนี้เอง นายอุดมศักดิ์ พรหมบุรี มีความตั้งใจจะจัดพิธีไหว้ครูขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 สงบเบาบางลง จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้บรรดาลูกศิษย์ได้รับทราบโดยทั่วกัน ภายใน 5-6 เม.ย.2566 ที่จะถึงนี้ แต่ในที่สุด นายอุดมศักดิ์ฯ ได้ด่วนจากไปกระทันหัน พิธีไหว้ครูจึงขอเลื่อนออกไปภายหลังการทำบุญครบ 100 วัน
วาระสุดท้ายของชีวิต
นายอุดมศักดิ์ พรหมบุรี ได้สิ้นลมหายใจเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2566 เวลา 11.27 น. เสียชีวิตเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ตามรายงานชันสูตรพลิกศพที่ 85/2566 สิริอายุได้ 70 ปี ยังความเศร้าโศรกเสียใจ ให้เกิดกับลูกหลานและญาติพี่น้องทุกคนเป็นอย่างมาก
พระราชทานเพลิงศพ
วันที่เสาร์ที่ 8 เม.ย.2566 เวลา 16:00 น. ณ เมรุวัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
***********************